พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.
ชื่อกฎหมาย มาตรา ... พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...."
วันใช้บังคับ มาตรา ... พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด.....วันนับแต่วันประกาศในราช
กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
บทยกเลิกกฎหมาย
เดิม
มาตรา ... ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
คำนิยาม มาตรา ... ในพระราชบัญญัตินี้
"ระบบคอมพิวเตอร์" หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อม
การทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทาง
ปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
"ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด
บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้
หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
"ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ
ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบ
คอมพิวเตอร์นั้นเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 2
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดย
ประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของ
ตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
"ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่
ก็ตาม
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม
พระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รักษาการ มาตรา ... ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการ
ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
การเข้าถึงโดยมิชอบ
Unauthorized
Access
มาตรา ... ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ
ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเข้าถึงโดยมิชอบ
Unauthorized
Access
มาตรา ... ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ
ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเข้าถึงโดยมิชอบ
Unauthorized
Access
มาต รำ .. . ผู้ใดล่ วง รู้มำต รกำ รป้องกันกำ รเข้ำถึงระบบคอมพิวเตอร์ห รือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิ
ชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การรบกวนระบบ
System
Interference
มาตรา ... ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบ
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 3
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
การรบกวนข้อมูล
Data Interference
มาตรา ... ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซ่อนเร้น ทำให้สูญ
หายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิ
ชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำสำเนาข้อมูล
Data Copy
มาตรา ... ผู้ใดทำซ้ำหรือทำโดยวิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกันต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
เพื่อให้ได้ไปซึ่งสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การดักรับ
Illegal Intercept
มาตรา ... ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับ
ไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ... (เข้าถึงระบบโดยมิชอบ) มาตรา ... (เข้าถึง
ข้อมูลโดยมิชอบ) มาตรา ... (ล่วงรู้และเปิดเผยมาตรการ) มาตรา ... (รบกวนระบบ) มาตรา ...
(รบกวนข้อมูล)มาตรา ... (ทำสำเนาข้อมูล) หรือมาตรา ... (ดักรับ)
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ
ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่
เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยของประเทศ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ
โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ และการบริการสาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีชุดคำสั่งที่เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
มาตรา ... ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็น
เครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ... (เข้าถึงระบบโดยมิชอบ) มาตรา ... (เข้าถึงข้อมูล
โดยมิชอบ) มาตรา ... (ล่วงรู้และเปิดเผยมาตรการ) มาตรา ... (รบกวนระบบ) มาตรา ... (รบกวน
ข้อมูล) มาตรา ... (ทำสำเนาข้อมูล) หรือมาตรา ... (ดักรับ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Spam mail มาตรา ... ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์รบกวนการใช้ระบบ
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยปกติสุข โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 4
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
เงื่อนไขและรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การโจรกรรมข้อมูล
บุคคล
Identity Theft
มาตรา ... ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือปกปิด
ข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งทั้งหมดหรือบางส่วน ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่
แท้จริงและทำให้ได้ไปซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยเรื่องที่
กระทบต่อความ
มั่นคง
มาตรา ... ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
การสร้างความตื่น
ตระหนก
มาตรา ... ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดย
ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น
ตระหนกแก่ประชาชน ต้องระวางโทษ............. (ควรกำหนดโดยระบุอัตราโทษขั้นต่ำ เพื่อให้
ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษหนัก-เบาได้ตามความเหมาะสม)
ภาพลามกอนาจาร
เด็ก/ผู้เยาว์
Child
Phonography
แนวทางที่ 1
เสนอปรับแก้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาให้รองรับหลักการเรื่องการ
ครอบครองภาพลามกของผู้เยาว์ โดยหากมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การเผยแพร่
ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ก็อาจกำหนดระวางโทษให้สูงขึ้นกว่าปกติแนวทางดังกล่าวน่าจะมี
ความเหมาะสมกว่าการกำหนดฐานความผิดไว้ในกฎหมายฉบับนี้
แนวทางที่ 2 กำหนดฐานความผิดไว้ในกฎหมายฉบับนี้
"มาตรา ... ผู้ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับ
เด็กหรือเยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ใน
การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น"
ความผิดอันยอม
ความได้
มาตรา ... ความผิดตามมาตรา ... วรรคหนึ่ง (เข้าถึงระบบโดยมิชอบ) มาตรา ... วรรคหนึ่ง
(เข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ)มาตรา ... (ทำสำเนาข้อมูล) และมาตรา ... (identity theft) เป็นความผิด
อันยอมความได้เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 5
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
หน้าที่ผู้ให้บริการใน
การจัดการข้อมูล
แนวทางที่ 1
"มาตรา ... ผู้ให้บริการผู้ใดรู้หรือควรได้รู้ว่ามีข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิด
ตามมาตรา ... (ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) หรือมาตรา ... (ข้อมูลที่อาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
และมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยเร็ว
ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ"
แนวทางที่ 2 (เพื่อสนับสนุนการนำมาตรการ Notice and Take down มา
ป ร ะยุ กต์ใช้ โ ด ยเปิดช่ องให้สำมำ ร ถกำหน ดหลั กเ กณฑ์ห รื อแน วปฏิบัติ ของ
ผู้ให้บริการที่จะทำการตกลงร่วมกันเสมือนเป็น Best practice)
"มาตรา ... เมื่อผู้ให้บริการรู้ หรือควรได้รู้ หรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ถึง
การกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา ... (ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) หรือ
มาตรา ... (ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง) ซึ่งปรากฏอยู่ในระบบ
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ให้รีบดำเนินการแก้ไขหรือระงับการทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวภายในเวลาอันเหมาะสมนับแต่วันที่รู้หรือได้รับแจ้ง
หรือภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด หากผู้ให้บริการมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือ
ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษ ...
ผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งหมายความถึงบุคคลผู้ดูแลหรือได้รับมอบหมายให้เป็น
ผู้ดูแลเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป
ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด"
หน้าที่ผู้ให้บริการใน
การจัดเก็บข้อมูล
จราจรทาง
คอมพิวเตอร์
มาตรา ... ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ
วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับ
มอบหมายจะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินกว่าเก้าสิบ
วันก็ได้แต่มิให้เกินกว่า ๒ ปี หากกรณีจำเป็นต้องเก็บรักษาเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าวให้
เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นรายกรณีไป
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัว
ผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
รายละเอียดและเงื่อนไขการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 6
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
อำนาจของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.
คอมฯ
มาตรา ... ภายใต้บังคับมาตรา ... (เงื่อนไขการใช้อำนาจอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
พ.ร.บ.คอมฯ) เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ
กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด
และหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมาเพื่อให้ถ้อยคำ
ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถ
เข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่าน
ระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๑๙ หรือที่
อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ใน
ความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทาง
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจ
ใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่ง
ให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้
ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงาน
เจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบ
รายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิด
เงื่อนไขการใช้
อำนาจของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.
คอมฯ
มาตรา ... การใช้อำนาจตามมาตรา ... (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) (อำนาจของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มี
เขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้อง
ระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็น
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด
รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถ
จะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 7
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่ง
สำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ... (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘)
(อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบ
คอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่
ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
ดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตามมาตรา ... (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) (อำนาจ
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผล
แห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ
เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ... (๔) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.
คอมฯ) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ... (๘) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ)
นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้
ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัด
ไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่
มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบ
กำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการ
อายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
อำนาจและเงื่อนไข
การใช้อำนาจของ
เจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายอื่น
มาตรา ... เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี
การกระทำความผิดตามมาตรา ... (ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) หรือมาตรา ...
(ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง) หรือการกระทำความผิดที่มีระบบ
คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐาน
เกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด โดยมีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม
มาตรา ... (๑) (๒) และ (๓) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ได้ หรือในกรณีที่ไม่
อาจดำเนินการดังกล่าวอาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่จำเป็นต้องดำเนินการตาม
มาตรา ... (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ให้ร้องขอ
พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อไปเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 8
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
การระงับการ
แพร่หลายของข้อมูล
มาตรา ... ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิด
เกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรม
ข้ามชาติหรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายนั้นร้องขอ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดง
พยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น จนกว่าพฤติการณ์จะเปลี่ยนแปลงไป
การระงับชุดคำสั่งไม่
พึงประสงค์
มาตรา ... ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง
ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่ง
ห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับ
การใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ใน
ครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นโดยมีเจตนามุ่งร้าย อันมี
ผลทำให้ข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูก
ทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนด
ไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หน้าที่และความรับ
ผิดของพนักงาน
เจ้าหน้าที่
มาตรา ... ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ... (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) หรือมาตรา ...
(อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น) ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำ
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ผู้ใดฝ่าฝืนวรรค
หนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 9
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
การรับฟังเป็น
พยานหลักฐาน
มาตรา ... ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและ
รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือ
กฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่น
สัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
หน้าที่และความรับ
ผิดของพนักงาน
เจ้าหน้าที่
มาตรา ... พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นผู้ใด
กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ... (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ)
หรือมาตรา ... (อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้าที่และความรับ
ผิดของบุคคล
ภายนอก
มาตรา ... ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นได้มาตาม
มาตรา ... (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) หรือมาตรา ... (อำนาจของเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายอื่น) และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ
ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทลงโทษบุคคล
ผู้ฝ่าฝืนคำสั่ง
มาตรา ... ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ที่สั่งตามมาตรา ... (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ)
มาตรา ... (อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น) มาตรา ... (การระงับการแพร่หลายของข้อมูล)
หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ... (การระงับการแพร่หลายของข้อมูล) ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติ
ให้ถูกต้อง
การแต่งตั้งพนักงาน
เจ้าหน้าที่
มาตรา ... การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้
มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ หรือค่าใช้จ่าย
สำหรับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง
"การปรับปรุง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ : ความสมดุลระหว่างเสรีภาพ กับความมั่นคงปลอดภัย"
หมายเหตุ : ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็นข้อความที่นำเสนอเป็นแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย Page | 10
สำหรับเรื่องที่มีข้อเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง จะปรากฏข้อความทั้งสองลักษณะอยู่ในส่วนเดียวกัน
อำนาจในการ
ดำเนินการทางคดี
มาตรา ... ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจ
รับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือ
พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจ
ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
บัตรประจำตัว มาตรา ... ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่ง
เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา
หลักดินแดน มาตรา ... ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำใน
ราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิด
ในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือ
โดยลักษณะแห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักรหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผล
นั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร และต้องรับ
โทษภายในราชอาณาจักร
หลักบุคคล มาตรา ... ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
ต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีที่เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา ...
(บทหนัก) มาตรา ... (ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) หรือมาตรา ... (ข้อมูลที่อาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง) ไม่จำต้องร้องขอให้ลงโทษ
ให้นำความในมาตรา ๑๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
จัดทำโดย
นางสาว ศศิวรรณ เรืองหิรัญวนิช
รหัสนักศึกษา 5521400837